อัลตร้าซาวด์ไม่ดีกับ เด็กในท้อง จริงหรือ ?

อัลตร้าซาวด์ไม่ดี

การตรวจครรภ์ด้วยเครื่องอัลตร้าซาวด์ เป็นเรื่องที่เราได้ยินกันอยู่บ่อยๆ ส่วนมากจะมีการทำการตรวจแบบนี้เมื่ออายุครรภ์ได้ประมาณ 5 เดือน หรือ ช่วงอายุครรภ์ 20 สัปดาห์ ซึ่งเป็นเรื่องที่ทำให้คุณพ่อคุณแม่ส่วนใหญ่ตื่นเต้น เพราะเป็นครั้งแรกที่จะได้เห็นลูกชัดๆ และส่วนมากคิดว่าเป็นการตรวจทรายเพศของทารกในครรภ์ แต่จริงๆ แล้วมันเป็นการตรวจเพื่อดูความแข็งแรงสมบูรณ์ของพัฒนาการของทารกในครรภ์ แต่ทำให้สามารถทราบเพศได้ด้วย เนื่องจากในช่วง ท้อง 20 สัปดาห์ ทารกมีพัฒนาการทางร่างกายที่สามารถมองเห็นอวัยวะต่างๆ ได้เด่นชัด รวมถึงอวัยวะที่บอกว่าเป็นชายหรือหญิง
แต่อย่างไรก็ดี ยังมีการพูดกันอยู่ในกลุ่มของคุณแม่ตั้งครรภ์บางส่วน ซึ่งมีความกังวลใจในเรื่องการทำอัลตร้าซาวด์ทารกในครรภ์ ว่าจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพของลูกหรือไม่ บางรายว่ากันไปถึงว่ามันเป็นการใช้คลื่น ซึ่งคลื่นนี้มันมีอันตรายต่อระบบสมอง ที่เสี่ยงต่อสุขภาพของทารก !
สำหรับเรื่องนี้พอได้ฟัง ในตอนแรกทำให้ผู้เขียนนึกถึงเรื่องคนในสมัยโบราณ ที่ไม่ยอมให้ถ่ายภาพ เนื่องจากกลัวว่า “ขวัญ” หรือวิญญาณของตนจะถูกจับเข้าไปอยู่ในภาพ (เป็นเรื่องเล่าในสมัยมีกล้องเข้ามาในสยามครั้งแรก ประมาณช่วง รัชกาลที่ 4) แต่อย่างไรก็ดี ทุกวันนี้ยังมีการพูดกันอยู่ไม่ใช่หรือว่าคลื่นจากโทรศัพท์ทำให้เกิดมะเร็งในสมอง !? ดังนั้นมันก็ไม่แปลกเลยที่จะมีความกังวลในเรื่องที่ไม่รู้…
อย่างไรก็ดี เมื่อสืบเสาะหาข้อมูลกันในเชิงลึก เราจะพบว่าในรอบกว่า 50 ปี ที่มีใช้เทคโนโลยีการทำอัลตร้าซาวด์ เพื่อตรวจ อาการท้อง ในหญิงตั้งครรภ์มา ยังไม่มีปรากฏรายงานทางการแพทย์ใดๆ ที่ทำให้เชื่อได้ว่า การตรวจด้วยคลื่นเสียงแบบนี้เป็นอันตรายต่อทารก !
การทำอัลตร้าซาวด์นั้นใช้หลักในการส่งคลื่นเสียงเข้าไปแล้วสะท้อนกลับมาเข้ากระบวนการประมวลผลออกมาเป็นภาพ ด้วยระดับความถี่ของคลื่นไม่ได้อยู่ในย่านที่เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต
ดังนั้น การทำอัลตร้าซาวด์เราจึงสามารถเชื่อถือและวางใจได้ว่าไม่ได้ส่งผลร้ายกับ เด็กในท้อง อย่างที่เล่าลือกันแน่นอน การเวลากว่า 50 ปี นั้นสามารถเป็นหลักฐานที่เชื่อมั่นได้เป็นอย่างดี !
ภาพประกอบจาก : hoag.org

Posted in เด็กในท้อง Tagged with: , ,

ใส่ความเห็น

ใส่อีเมลล์ของคุณที่เพื่อสมัครเป็นสมาชิกของบล็อกนี้ และรับการแจ้งโพสใหม่ผ่านทางอีเมลล์