ตรวจท้อง ด้วยการอัลตร้าซาวด์มีรังสีอันตรายต่อทารกหรือไม่

การตรวจครรภ์ เป็นเรื่องที่คุณแม่ต้องทำเป็นประจำ จะมีการนัดจากแพทย์ผู้ดูแลครรภ์ให้คุณแม่มาทำการตรวจครรภ์เป็นประจำอย่างน้อยเดือนละครั้ง แต่ที่น่าตื่นเต้นที่สุดน่าจะเป็นเดือนที่ 5 เนื่องจากจะมีการตรวจครรภ์ด้วย เครื่องอัลตร้าซาวด์ ที่ทำให้คุณแม่ได้เห็นรูปร่างหน้าตาของเจ้าตัวน้อยในครรภ์เป็นครั้งแรก ! และสามารถระบุเพศได้ด้วยว่าเป็นชายหรือหญิง อย่างไรก็ตาม คุณแม่บางราย อาจมีการนัดตรวจด้วยอัลต้าซาวด์มากกว่าหนึ่งครั้งในเดือนที่ 5 และบางรายอาจถี่มาก จนถึงเดือนละครั้ง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นในรายที่แพทย์มีความกังวลว่าจะมีปัญหาในการตั้งครรภ์  และจะต้องมี การดูแลคนท้อง ที่มากเป็นพิเศษ

อัลตร้าซาวด์มีรังสีอันตราย

อย่างไรก็ตาม ยังมีคุณแม่จำนวนหนึ่งเกิดความกังวลว่า การทำอัลตร้าซาวด์บ่อยๆ จะเป็นอันตรายหรือไม่ จะสร้างปัญหาให้กับลูกในครรภ์ให้ต้องได้รับรังสีอันตรายอะไรหรือเปล่า ยิ่งในรายที่ต้องทำอัลตร้าซาวด์บ่อยๆ ยิ่งเป็นห่วงมากว่าการทำแบบนี้จะมีความเสี่ยงอะไรหรือไม่ เพราะบ่อยครั้งที่ได้ยินว่าการเอ็กซ์เรย์ บ่อยๆ ไม่ดี เพราะมีรังสีอันตราย

สำหรับเรื่องนี้ ในกรณีการเอ็กซ์เรย์เพื่อตรวจดูภายในร่างกายนั้น ทำบ่อยๆ เป็นอันตรายจริงๆ ! แต่… การทำอัลตร้าซาวด์ไม่ใช่การทำเอ็กซ์เรย์ มันเป็นการใช้คลื่นเสียง ส่งเข้าไปและสะท้อนสัญญาณคลื่นออกมาและผ่านการประมวลผลของคลื่นให้เป็นภาพดังนั้น ไม่มีการใช้รังสีที่เป็นอันตรายอย่างที่หวาดเกรง สามารถสบายใจได้ และโดยทั่วไปก็จะมีการตรวจประมาณ 2-3 ครั้งอยู่แล้วด้วยเครื่องมือนี้ ส่วนในรายที่คุณหมอเป็นกังวลก็อาจจะมีการตรวบ่อยหน่อยเพื่อให้ทราบผลอย่างชัดเจน

อีกอย่างที่มักเข้าใจผิดก็คือ การ ตรวจท้อง ด้วยการทำอุลตร้าซาวด์ เป็นการทำเพื่อตรวจเพศ ซึ่งจริงๆ แล้วไม่ใช่ มันเป็นเพียงผลพลอยได้ สิ่งที่แพทย์ต้องการจริงๆ ก็คือ การตรวจดูพัฒนาการของทารกในครรภ์ว่าสมบูรณ์แข็งแรงหรือเปล่า ดังนั้นหากคุณพ่อคุณแม่ท่านใด ไปตรวจอัลตร้าซาวด์แล้วไม่เห็นเพศของลูกน้อย ก็อย่าพึ่งคิดว่าการตรวจล้มเหลวไปเสียล่ะ

Posted in คนท้อง Tagged with:

ใส่ความเห็น

ใส่อีเมลล์ของคุณที่เพื่อสมัครเป็นสมาชิกของบล็อกนี้ และรับการแจ้งโพสใหม่ผ่านทางอีเมลล์